เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างมีขั้นตอน และสร้างสรรค์
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
2
16-20
ม.ค.60
|
โจทย์ :
ออกแบบและวางแผนปฏิทินการเรียนรู้
คำถาม
นักเรียนจะออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter
4/59 นี้อย่างไร ?
เครื่องมือคิด
- Brainstorms : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลอง
- Think Pair Share :กิจกรรมที่อยากเรียนรู้
- Mind Mapping : ก่อนเรียน
- Wall Thinking ปฏิทินการเรียนรู้
-
Show and Share นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อ / แหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ชุดอุปกรณ์การทดลองของนักเรียน
|
วันจันทร์
(2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูให้นักเรียนอาสานำเสนอกิจกรรมการทดลองวิยาศาสตร์ที่ไม่ซ้ำกับสัปดาห์แรกของตนเอง
อีก 5 คน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “สังเกตเห็นอะไร เกิดอะไรขึ้น
ทำไมถึงเปลี่ยนไป ส่งผลอย่างไร แล้วเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร
?”
- ครูให้นักเรียนแต่ละคนลองตั้งคำถามสิ่งที่สังเกตเห็น
สิ่งที่สงสัยและอยากรู้จากกิจกรรมการทดลองของเพื่อนคนละ 5 คำถาม
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละคนได้ตั้งคำถามจากสิ่งที่สังเกตเห็น สิ่งที่สงสัยและอยากรู้จากกิจกรรมการทดลองของเพื่อนคนละ
5 คำถาม
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้
นักเรียนแต่ละคนบันทึกการทดลองลงในสมุดนักวิทย์กับการเรียนรู้
วันอังคาร (2
ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้ในQuarter
3 นี้ได้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน?”
เชื่อม
- ครูแบ่งกลุ่มให้นักเรียนเป็น 5 กลุ่ม นักเรียนช่วยกันคิดออกแบบวางแผนทำปฏิทินการเรียนรู้
- นักเรียนร่วมกันนำเสนอปฏิทินการเรียนรู้ตลอด
10 สัปดาห์
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
ครูเขียน Mind Mapping หน่วย “BEN 10”
บนกระดาน ให้นักเรียนช่วยกันบอกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่ตนเองรู้
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเขียน Mind Mapping
ก่อนเรียน
-
ให้นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุป Mind Mapping ก่อนเรียนของตนเอง
วันพฤหัสบดี
(1 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ทำไมถึงเรียกว่าวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์เกิดขึ้นเมื่อไหร่?”
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
วันศุกร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“ตลอดทั้งสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับออกแบบและวางแผนปฏิทินการเรียนรู้ใน Q.4/59
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม PBL
คู่ขนาน
-
พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
- บันทึกสมุดนักวิทย์กับการเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน Q.4/59
- สรุปบทเรียนรายสัปดาห์
|
ความรู้
สามารถออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างมีขั้นตอน และสร้างสรรค์
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์
สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
-
มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
-
มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม
ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
- รู้จักการสังเกตผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง
5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส
- รู้จักการตั้งคำถามต่อสิ่งที่อยากเรียนรู้
- รู้จักการสืบค้นหาข้อมูลและการทดลอง
- สรุปผลสิ่งที่ที่เกิดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- - ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
|
ตัวอย่างภาพกิจกรรม
ตัวอย่างภาพชิ้นงาน
สัปดาห์ที่ 2 พี่ป.1 หลังจากที่เราได้เลือกเรื่องที่เรานั้นอยากจะเรียนรู้ร่วมกันแล้ว ก็ออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ในสัปดาห์ต่อๆ ไป ทุกๆ สัปดาห์ที่เกิดขึ้นในเรื่องที่อยากรู้และอยากค้นหา ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานเสียง พลังงานความร้อน แรงและการเคลื่อนที่ หรือปม้แต่วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน เข้ามาเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างไร พี่ป.1 ต่างบอกว่าคุณครับ/คุณครูคะ นักวิทยาศาสตร์ต้องเป็นคนที่ช่างสังเกตและสงสัย แล้วก็ต้องเป็นนักค้นหา นักทดลอง ไปพร้อมๆ กันใช่หรือเปล่าครับ พี่ป.1 เริ่มอยากจะเป็นนักวิทย์ตัวน้อยแล้วค่ะ
ตอบลบ