เป้าหมายของความเข้าใจ(Understanding Goal) : นักเรียนเข้าใจและเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัวในการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

Week 7

เป้าหมายรายสัปดาห์ :นักเรียนเข้าใจธรรมชาติของแรง และสามารถอธิบายการเกิดแรงดึง แรงผลักอย่างง่าย และนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

Week
Input
Process
Output
Outcome

7
20-24 ก.พ. 60

โจทย์ : 
แรงและการเคลื่อนที่

คำถาม
- แรงมาจากไหน เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร?
- ถ้าเราต้องการย้ายสิ่งของสิ่งหนึ่ง จะทำอย่างไรโดยใช้แรงน้อยที่สุด?


เครื่องมือคิด
-
 Brainstorms : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลอง
- Key Question : คำถามจากการทดลอง
- Think Pair Share : การเกิดแรงชนิดต่างๆ
- Show and Share : นำเสนอการทดลองกลุ่ม
-  Wall Thinking การ์ตูนช่องเรื่องราวเกี่ยวกับแรงต่างๆ

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คลิปวีดีโอการ์ตูน BEN 10  “lodestar
- ชุดทดลองวิทยาศาสตร์ “แรงดันอากาศด้วยไม้ดันท่อ”

วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอการ์ตูน BEN 10  “lodestar” เกี่ยวกับแรงแม่เหล็ก
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “สังเกตเห็นอะไร เกิดอะไรขึ้น เปลี่ยนแปลงไป ทำไมถึงเปลี่ยนไป  ส่งผลอย่างไร เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร ?
- ครูให้นักเรียนตั้งคำถามจากสิ่งที่ได้ดู คนละ 5 คำถาม
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูและจากคำถาม
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าให้นักเรียนย้ายก้อนหิน 1 ก้อน หรือกระสอบทราย 1 กระสอบ ไปในระยะทาง 1 เมตร จะทำได้อย่างไร?
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ทำ
ชง
- ครูให้นักเรียนไต่เชือกตีระฆัง พร้อมจับเวลา
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าใครจะใช้เวลาน้อยที่สุด ออกแรงน้อยหรือมากกว่ากัน เพราะเหตุใด”
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ทำ
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ “แรงดันอากาศด้วยไม้ดันท่อ” โดยที่ครูให้นักเรียนกดไม้ดันท่อบนพื้นเรียบและพื้นขรุขระแล้วดูว่าเวลาดึงออกจากพื้นใช้แรงมากอย่างไร? จากนั้นนักเรียนใช้ไม้ดันท่อ 2 อัน มาประกบกัน แล้วลองดึง หรือครูจะเป็นคนยกขึ้นข้างหนึ่ง
- ครูให้นักเรียนตั้งคำถามจากสิ่งที่ได้ทำ คนละ 5 คำถาม
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ทำและจากคำถาม
ใช้
นักเรียนบันทึกสมุดนักวิทย์กับการเรียนรู้กับการเรียนรู้
ชง
- ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันคิดและออกแบบการทดลองที่เกี่ยวข้องกับเสียง
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
- นักเรียนนำเสนอกิจกรรมการทดลองของกลุ่มตนเอง
- นักเรียนตั้งคำถามจากสิ่งที่ได้ทำการทดลอง คนละ 5 คำถาม
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “แรงมาจากไหน เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร?
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ
ใช้
นักเรียนทำการ์ตูนช่องเรื่องราวเกี่ยวกับแรงต่างๆ
วันศุกร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม PBL คู่ขนาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- บันทึกสมุดนักวิทย์กับการเรียนรู้กับการเรียนรู้
- การ์ตูนช่องเรื่องราวเกี่ยวกับแรงต่างๆ
- สรุปบทเรียนรายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจธรรมชาติของแรง และสามารถอธิบายการเกิดแรงดึง แรงผลักอย่างง่าย และนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้  รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
 อธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
- รู้จักการสังเกตผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส
- รู้จักการตั้งคำถามต่อสิ่งที่อยากเรียนรู้
- รู้จักการสืบค้นหาข้อมูลและการทดลอง
- สรุปผลสิ่งที่ที่เกิดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

คุณลักษณะ
:
- เคารพ สิทธิ  หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
-ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  
  - มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
  - กระตือรือร้นในการเรียนรู้
  - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกัน
ตัวอย่างภาพกิจกรรม











ตัวอย่างภาพชิ้นงาน




1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 7 กันค่ะ สำหรับหารเรียนรู้ใน หน่วย “BEN 10 ” ของพี่ๆ ป.1 เมื่อคุณครูให้โจทย์ : ถ้าเราต้องการย้ายสิ่งของสิ่งหนึ่งจะทำอย่างไร ให้ใช้แรงน้อยที่สุดคะ ?
    พี่โชว์ : ให้เอาแรงเพื่อนหลายๆ คน มาช่วยกันครับ
    พี่ดีดี : เราต้องใช้แรงสามัคคีกันครับ
    พี่ฟอร์ด : ผมรู้แล้วว่าการทำอะไรบางครั้งคนเดียวไม่ได้ครับ
    พี่แก้ม : ครูคะการเล่นชักกะเย่อ เราต้องออกแรงดึงเหมือนกันเลย
    พี่นโม : เราได้คิดและวางแผน แล้วช่วยกันครับ
    ในชั่วโมงต่อมาพี่ป.1 ร่วมกันทำการทดลอง “แรงด้วยไม้ดันท่อ” ครูครับ/ครูคะ : เรารู้แล้วเวลาที่เราดึงไม้ดันท่อออกง่าย เพราะว่ามีลมหรืออากาศเข้าไป แต่ถ้าไม่มีมันก็จะแน่น แล้วทำให้ดึงยาก ต้องออกแรงเยอะในการดึงไม้ดันท่อขึ้นมา และอีกการทดลองคือ "แรงถ่านไฟฉาย" ครูครับ/ครูคะ ทำไมถึงหมุนได้ ทำไมเวลาเราจับนานๆ รู้สึกร้อน ?
    ซึ่งตลอดทั้งสัปดาห์จะสังเกตได้ว่า พี่ป.1 แต่ละคน กระตือรือร้นในการเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นนักสังเกตและตั้งคำถามที่ตนเองแปลกใจหรือสงสัยในสิ่งนั้นได้ดีค่ะ

    ตอบลบ