เป้าหมายของความเข้าใจ(Understanding Goal) : นักเรียนเข้าใจและเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัวในการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

Week 6

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับการเกิดเสียงและการได้ยินเสียง นำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้

Week
Input
Process
Output
Outcome

6
13-17 ก.พ. 60

โจทย์ : 
 พลังงานเสียง

คำถาม
- นักเรียนคิดว่าเราได้ยินเสียงได้อย่างไร?
- เสียงสงผลต่อความรู้สึกอย่างไร

เครื่องมือคิด
-
 Brainstorms : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลอง
- Key Question : คำถามจากการทดลอง
- Think Pair Share : การเกิดเสียง
- Show and Share : นำเสนอการทดลองกลุ่ม
-  Wall Thinking : ประดิษฐ์เครื่องกำเนิดเสียงดนตรีจากสิ่งต่างๆ


ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อ / แหล่งเรียนรู้

- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คลิปวีดีโอการ์ตูน BEN 10  “echo/ โครม่าสโตน”
- ชุดทดลองวิทยาศาสตร์ แป้งข้าวโพดเต้นระบำ”
(แป้งข้าวโพด น้ำ ตู้ลำโพง)

วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)

วันหยุดชดเชยวันมาฆบูชา

วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอการ์ตูน BEN 10  “echo/ โครม่าสโตน” เกี่ยวกับพลังงานเสียง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “สังเกตเห็นอะไร เกิดอะไรขึ้น เปลี่ยนแปลงไป ทำไมถึงเปลี่ยนไป  ส่งผลอย่างไร เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร ?”เสียงมาจากไหน?
- ครูให้นักเรียนตั้งคำถามจากสิ่งที่ได้ดู คนละ 5 คำถาม
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูและคำถาม
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำเสียงต่างๆ จากร่างกายของตนเอง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ ทำไมเสียงเราไม่เหมือนกัน  ขณะที่เราเปล่งเสียงออกมานอกจากมีเสียงแล้ว มีอะไรเกิดขึ้นกับร่างกายของเราอีกบ้าง  คนหรือสัตว์อื่นๆ ได้ยินเสียงได้อย่างไร  สัตว์อะไรที่ใช้เสียงในการสื่อสารอย่างไร?
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ
ชง
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ แป้งข้าวโพดเต้นระบำ”
- นักเรียนตั้งคำถามจากสิ่งที่ได้ดู คนละ 5 คำถาม
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันคิดและออกแบบการทดลองที่เกี่ยวข้องกับเสียง
ใช้
นักเรียนบันทึกสมุดนักวิทย์กับการเรียนรู้กับการเรียนรู้
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
- นักเรียนนำเสนอกิจกรรมการทดลองของกลุ่มตนเอง
- นักเรียนตั้งคำถามจากสิ่งที่ได้ทำการทดลอง คนละ 5 คำถาม
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เสียงสงผลต่อความรู้สึกอย่างไร?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ
ใช้
นักเรียนประดิษฐ์เครื่องกำเนิดเสียงดนตรีจากสิ่งต่างๆ
วันศุกร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม PBL คู่ขนาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- บันทึกสมุดนักวิทย์กับการเรียนรู้กับการเรียนรู้
- ประดิษฐ์เครื่องกำเนิดเสียงดนตรีจากสิ่งต่างๆ
- สรุปบทเรียนรายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับการเกิดเสียงและการได้ยินเสียง นำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้  รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
 อธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
- รู้จักการสังเกตผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส
- รู้จักการตั้งคำถามต่อสิ่งที่อยากเรียนรู้
- รู้จักการสืบค้นหาข้อมูลและการทดลอง
- สรุปผลสิ่งที่ที่เกิดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

คุณลักษณะ
:
- เคารพ สิทธิ  หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
-ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  
  - มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
  - กระตือรือร้นในการเรียนรู้
  - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกัน
ตัวอย่างภาพกิจกรรม









ตัวอย่างภาพชิ้นงาน



1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ป.1 สนุกไปกับพลังงานเสียง ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากตัวเราในรูปแบบของ เสียงพูด การทำเสียงจากอวัยวะต่างๆของร่างกาย หรือแม้แต่เสียงการเต้นของหัวใจ พี่ๆ สามารถแยกแยะได้ว่าเสียงที่ตนเองได้ยอนนั้นเป็นเสียงของอะไร แล้วเมื่อเราได้ยินเสียงนั้นรู้สึกอย่างไร พี่ดิน :ถ้าเราไม่มีเสียง หรือสิ่งต่างๆไม่มีเสียง ก็ทำให้เราไม่เข้าใจกัน ทำอะไรตามที่ตนเองอยากทำไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าใคร หรือพี่สัตว์ต่างๆมีความต้องการจะให้เราทำอะไรให้บ้างครับ พี่เป้ : ครูครับผมสามารถทำเสียงจากอวัยวะร่างกายตนเองได้นะครับ แล้วเสียงหัวใจผมเต้นตามจังหวะเสียงเพลงด้วยนะครับครู จากนั้นพี่ป.1 แต่ละกลุ่ม ได้ร่วมกันคิด และทดลองสร้างเครื่องดนตรีจากขวดด้วยกัน ซึ่งในขณะที่ทำกิจกรรมอยู่นั้น คุณครูสังเกตเห็นว่าแต่ละคนนั้นกระตือรือร้นในการเรียนรู้เสียง รับฟัง กัน ให้กำลังใจและชื่นชมเพื่อนๆ ได้ดีทีเดียวค่ะ

    ตอบลบ